เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค]
9. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร

ท่าทางและการปฏิบัติของท่านผู้มีอายุเหล่านี้แล เป็นเหตุให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย
กล่าวถึงท่านผู้มีอายุได้อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะ
หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ เป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ เป็น
ผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะแน่แท้’
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบ
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้เถิด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านนครวินทะ
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระโคดมชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือน
บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปใน
ที่มืด โดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์เหล่านี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ
พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำ
ข้าพระองค์ทั้งหลายว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

นครวินเทยยสูตรที่ 8 จบ

9. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
ว่าด้วยการทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์

[438] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสถามว่า
“สารีบุตร เธอมีอินทรีย์ผ่องใส มีผิวพรรณบริสุทธิ์ผุดผ่อง เธออยู่ด้วยวิหาร
ธรรมอะไรเป็นส่วนมากในบัดนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :498 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค]
9. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร

ท่านพระสารีบุตรทูลตอบว่า “ข้าพระองค์อยู่ด้วยสุญญตา1วิหารธรรมเป็น
ส่วนมากในบัดนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร ได้ยินว่าเธออยู่ด้วยวิหารธรรม
ของมหาบุรุษเป็นส่วนมากในบัดนี้ เพราะวิหารธรรมของมหาบุรุษ2นี้ก็คือสุญญตา
เพราะฉะนั้น ถ้าภิกษุหวังว่า ‘เราพึงอยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรมเป็นส่วนมาก’
ภิกษุนั้นพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตโดยทางใด เราได้เที่ยว
บิณฑบาตในประเทศใด และเรากลับจากบิณฑบาตจากบ้านโดยทางใด ในที่นั้น
เรามีฉันทะ(ความพอใจ) ราคะ(ความกำหนัด) โทสะ(ความขัดเคือง) โมหะ
(ความลุ่มหลง) หรือปฏิฆะ(ความกระทบ) แห่งใจในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาบ้างไหม’
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตโดยทางใด เราได้
เที่ยวบิณฑบาตในประเทศใด และเรากลับจากบิณฑบาตจากบ้านโดยทางใด ในที่นั้น
เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือปฏิฆะแห่งใจในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาอยู่’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตโดยทางใด
เราได้เที่ยวบิณฑบาตในประเทศใด และเรากลับจากบิณฑบาตจากบ้านโดยทางใด
ในที่นั้น เราไม่มีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือปฏิฆะแห่งใจในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา’
สารีบุตร ภิกษุนั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน
อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นแล
[439] สารีบุตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเข้า
บ้านเพื่อบิณฑบาตโดยทางใด เราได้เที่ยวบิณฑบาตในประเทศใด และเรากลับ
จากบิณฑบาตจากบ้านโดยทางใด ในที่นั้น ๆ เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะใน
เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูบ้างไหม